วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556

ตัวอย่างการใช้ Social Media เพื่อการศึกษา


เดชหน้ากากมังกรชอนตะวัน ตอนเปิดตัว
thai superhero ฮีโร่ท้องถิ่นของไทย จังหวัดนครสวรรค์ " เดชหน้ากากมังกรชอนตะวัน " ติดตามชมให้ได้นะครับ

ครูเมืองนครสวรรค์ผุดฮีโร่เดชหน้ากากมังกรชอนตะวัน ทำเป็นหนังสั้นสอนเด็ก เผยบูรณาการหลากหลายวิชา พร้อมสอนคุณธรรมควบคู่ไปในตัว

เรียกได้ว่าฮือฮากระฉ่อนไปทั่วโลกไซเบอร์เลยทีเดียว สำหรับคลิป "เดชหน้ากากมังกรชอนตะวัน" ฮีโร่พันธุ์ไทยสายเลือดไทย ที่มีครูสอนคอมพิวเตอร์จากโรงเรียนเทศบาลวัดคีรีนาคพรต (ท.6) อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ เป็นพระเอกของเรื่อง

โดย นางณศมน ลี้จินดา ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลวัดจอมคีรีนาคพรต กล่าวถึงคลิปดังกล่าวว่า คลิปนี้เป็นสื่อการเรียนการสอนของครูสุทัศน์ เสมอเชื้อ เจ้าของโครงการ และครูมนตรี นามแฮด คุณครูสอนคอมพิวเตอร์ ซึ่งมาของบประมาณโรงเรียนเพื่อดำเนินการ ซึ่งคลิปนี้มีฮีโร่เป็นตัวเอกของเรื่อง เพื่อจูงใจให้นักเรียนทำดี อยากเป็นคนดี มีคุณธรรม พร้อมช่วยเหลือผู้อื่นในสังคม อีกทั้งยังได้สอดแทรกเนื้อหาหลากหลายวิชาบูรณาการเข้าด้วยกัน

ส่วนทางด้านครูมนตรี นามแฮด พระเอกของเรื่อง กล่าวว่า ตนรู้สึกภูมิใจเป็นอย่างมาก เมื่อเพื่อน ๆ ครู ได้โทรมาสอบถามรายละเอียด และชื่นชอบคลิปดังกล่าว สำหรับการทำคลิปนั้น เราทำกันเป็นทีม มีทั้งนักเรียน และครูหลายคนช่วยกันทุกขั้นตอน และแบ่งงานออกไปตามความสามารถของแต่ละคน ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสที่ดีที่เด็กนักเรียนมีส่วนร่วมในการทำงานที่ถนัด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คลิปดังกล่าวทำได้เพียง 5 ตอน เพราะตนต้องติวโอเน็ตให้กับเด็ก เลยยังไม่มีเวลาทำตอนที่ 6 แต่ได้คิดพล็อตเรื่องคร่าว ๆ ไว้บ้างแล้ว

ขณะที่ ครูสุทัสน์ เสมอเชื้อ ครูสอนศิลปะเจ้าของโครงการและเจ้าของไอเดียการผลิตหนังสั้น กล่าวว่า ตนรู้สึกดีใจที่มีคนสนใจการ์ตูนฮีโร่มากขึ้น ส่วนตัวแล้วตนอยากจะผลิตหนังสั้นออกมาเพื่อให้นักเรียนที่ผลิตหน้ากากจากการเรียนเปเปอร์มาเช่ออกมาโชว์เพียงเท่านั้น แต่คิดไปคิดมา ก็ปิ๊งไอเดียว่า ตนควรทำหนังสั้นที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมด้วย เลยชักชวนครูคอมพิวเตอร์มาร่วมแสดงเป็นพระเอก ซึ่งคลิปเปิดตัวนั้นมีนักเรียนบางส่วนมาร่วมแสดง อาจจะมีขัดข้องไปบ้าง แต่คลิปต่อไปเราก็เพิ่มในเรื่องเสียงพากษ์ ตัวแสดง ผู้ร้องเพลงประกอบ อีกทั้งยังมีเอฟเฟกต์ แสง สี เสียง เลเซอร์ มากมาย ให้ดูสมจริง โดยสถานที่ถ่ายทำก็เป็นสถานที่สำคัญของ จ.นครสวรรค์ ถือว่าเป็นการแนะนำการท่องเที่ยวจังหวัดไปในตัว

ครูสุทัศน์ กล่าวต่อไปว่า เดชหน้ากากมังกรชอนตะวันเป็นฮีโร่ที่จะออกมาต่อสู้กับเหล่าร้ายเพื่อช่วยนักเรียน ซึ่งก่อนเปิดตัวนั้นก็จะมีเสียงขลุ่ยและดนตรีไทยมาประกอบ และจากนั้นฮีโร่ก็จะกินขนมโมจิเพื่อแปลงกาย พร้อมต่อสู้กับเหล่าวายร้าย พล็อตเรื่องก็จะคล้ายการ์ตูนฮีโร่ของญี่ปุ่นทั่วไป ส่วนตอนที่ 6 คิดพล็อตเรื่องไว้แล้ว โดยมุ่งเน้นในเรื่องของการอ่าน ซึ่งจะมีชื่อตอนว่า "โงเรนเจอร์" จะประกอบไปด้วย โงเรด โงเยลโล่ ฯลฯ เพื่อนสอนให้เด็กแยกแยะสี และรู้เรื่องคำศัพท์ ส่วนปีศาจก็จะเป็นปีศาจกินตัวอักษร พอตัวอักษรหายไป เด็ก ๆ จะไม่มีหนังสืออ่าน และจะไม่มีความรู้ พระเอกจึงต้องปรากฏตัวออกมาเพื่อกำจัดปีศาจกินตัวหนังสือ ทั้งนี้ก็จะสื่อให้เด็ก ๆ เห็นความสำคัญของการอ่าน

อย่างไรก็ดี ครูสุทัศน์ กล่าวต่อว่า การถ่ายทำนั้น ตนก็จะใช้เวลาช่วงปิดภาคเรียนลงมือ เพราะจะไม่ได้ให้เด็กและเสียเวลา อีกทั้งการถ่ายทำแต่ละตอนใช้เวลานานมากเพราะเราใช้กล้องธรรมดา ๆ เท่านั้น ในการถ่าย

ข้อดี ข้อเสียของระบบโซเซียลเน็ตเวิร์คที่มีการนำมาใช้ในปัจจุบัน ปัญหา และทางออก


ข้อดี
1. การสื่อสารข้อมูลไปสู่ผู้คนเป็นจำนวนมากทำได้รวดเร็ว สะดวก และง่าย
2. ช่องว่างการสื่อสารระหว่างนักการเมืองหรือบุคคลที่มีชื่อเสียงกับ
คนธรรมดาทั่วไปน้อยลง สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยตรง
3. ทำให้เกิดการรวมตัวกันในการทำกิจกรรมดีๆ ได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น
4. เป็นช่องทางที่ดีในการหางานทำหรือได้คนที่มีความสามารถเข้ามาทำงานด้วย
5. สามารถใช้เพื่อการเรียนการสอนได้ เพราะนักเรียนและนักศึกษามักจะออนไลน์บนเฟซบุ๊ก  สไลด์แนะนำการใช้เฟซบุ๊กเพื่อการเรียนการสอนที่ 
http://www.slideshare.net/krunapon/ss-7320394


ข้อเสีย
1. ไม่มีวิธีการตรวจสอบว่าข้อมูลที่ได้รับนั้นเป็นข้อมูลที่เป็นจริงหรือไม่
2. หลายคนไม่ระวังการใช้โซเชียลมีเดียซึ่งทำให้หลายคนได้ข้อมูลที่ไม่เป็นสาระ หรือเป็นข้อมูลเชิงลบ เช่น การโพสต์ด่าว่าคนอื่น

ปัญหา
1.  หลายคนมักโพสต์ข้อความที่ไม่สุภาพ ไม่เป็นจริง หรือมีผลกระทบผู้อื่นในทางลบ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเดือดร้อนทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
2. หลายคนมักโพสต์ข้อมูลส่วนตัวซึ่งผู้อื่นอาจจะใช้ข้อมูลนั้นในทางที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะ ดารา ศิลปิน หรือบุคคลสาธารณะควรจะระมัดระวังให้มากในการโพสต์อะไรก็ตามที่
นักข่าวอาจจะเขียนเป็นข่าวได้

แนวทางแก้ปัญหา
- พยายามใช้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์  สไลด์การใช้เฟซบุ๊กอย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งสามารถดูได้ที่
http://www.slideshare.net/krunapon/ss-7311643
  เช่น ใช้รหัสผ่านที่เดายาก ใช้ https เพื่อไม่ให้ผู้อื่นลักลอบดูข้อมูลที่เราโพสต์  คิดให้ดีก่อนที่จะโพสต์อะไร ถ้าอะไรที่คิดว่าโพสต์แล้วทำให้คนใดคนอื่นเสียใจหรือเดือดร้อน อย่าโพสต์

ผลกระทบของโซเชียลเน็ตเวิร์คหรือโซเชียลมีเดียต่อสังคมไทย



ผศ. ดร. กานดา รุณนะพงศา สายแก้ว
รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร ศูนย์คอมพิวเตอร์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น


1.ทำไมโซเซียลเน็ตเวิร์คถึงมีพลังมากในการสื่อสารในปัจจุบัน และแนวโน้มอนาคต

ทำไมโซเชียลเน็ตเวิร์คจึงมีพลังมากในการสื่อสารปัจจุบัน
     1.1 เพราะมีคนใช้เยอะ      โซเชียลเน็ตเวิร์คที่คนไทยนิยมใช้กันมากคือเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ จากสถิติที่แสดงโดย
socialbakers.com ในวันที่ 19 ธันวาคม 2554 พบว่าจำนวนคนไทยที่ใช้เฟซบุ๊กมีประมาณ 13 ล้านคน คิดเป็นประมาณ 20% ของประชากรทั้งหมด และมีอัตราการเติบโตของการใช้เฟซบุ๊กประมาณ 9%
จากสถิติที่แสดงโดย 
http://www.lab.in.th/thaitrend/
พบว่าจำนวนคนไทยที่ใช้ทวิตเตอร์มีประมาณ 8 แสนคน แต่ที่ใช้กันทุกวันมีประมาณ 1 แสนคน

   1.2กลุ่มคนที่ใช้เป็นกลุ่มคนที่มีสถานะทางการศึกษา เศรษฐกิจ และสังคมสูง มีเวลาและพลังในการกระจายข่าวและความคิดให้แก่คนอื่น ผู้ใช้เฟซบุ๊กอยู่ในช่วงอายุ 18-24 ปี 34% และช่วงอายุ 25-34 ปี 29%

    1.3 มีความน่าเชื่อถือมากกว่าการสื่อสารแบบอื่น เนื่องจากเป็นการสื่อสารที่มาจากเพื่อน คนใกล้ตัว หรือคนที่เรารู้จัก โซเชียลเน็ตเวิร์คเป็นการสื่อสารในลักษณะปากต่อปาก

   1.4 ธรรมชาติของมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ชอบอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม ชอบสื่อสารและ
แบ่งปันข้อมูลให้แก่กัน  อยากแสดงออกความมีตัวตนของตน เป็นอย่างนี้มาตั้งแต่อดีต  เมื่อก่อนคนเขียนบนผนังถ้ำ ผนังกำแพง ผนังวัด  ใบลาน และหนังสือ การรับรู้ของสิ่งที่คนเขียนอยู่ในวงจำกัด
และขยายไปให้ผู้อื่นใช้เวลานาน แต่ตอนนี้คนเขียนบนโซเชียลเน็ตเวิร์คผ่าน
โมบายแอปหรือเว็บแอปซึ่งรันอยู่บนอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงคนทั้งโลก ทำให้ส่งที่คนเขียนแพร่กระจายไปได้อย่างรวดเร็วและมีพลังมาก

แนวโน้มอนาคตจะมีจำนวนคนใช้มากขึ้นและมีพลังมากขึ้น
1) ผลกระทบจากประชาคมอาเซียนที่ไทยจะต้องเข้าร่วมกับประเทศอื่นอย่างใกล้
ชิดมากขึ้นในปี 2558  และหลายประเทศในอาเซียนมีผู้ใช้เฟซบุ๊กเป็นจำนวนมาก
จากสถิติที่แสดงใน 
socialbakers.com ในวันที่
ประเทศ จำนวนคนที่ใช้  เปอร์เซนต์ที่ผู้ใช้เพิ่มขึ้น อัตราส่วนของคนที่ใช้ต่อคนทั้งประเทศ
Indonesia 41,774,960 +4.06% 17.19% (อันดับ 2 ของโลก)
Philippines 27,033,680 +1.17% 27.06%  (อันดับ 8 ของโลก)
Thailand 13,276,200  +6.83% 19.99% (อันดับ 16 ของโลก)
Malaysia 12,060,200 +2.63% 46.10% (อันดับ 17 ของโลก)
Vietnam 3,607,220 +43.12% 4.03% (อันดับ 41 ของโลก)
Singapore 2,661,360 +2.77% 56.61% (อันดับ 52 ของโลก)
Laos 129,660 +41.70% 1.85%

2) กลุ่มผู้ใช้เฟซบุ๊กที่เป็นนักเรียนนักศึกษาจะยังคงใช้เฟซบุ๊กเมื่เขาทำงาน

3) การใช้เฟซบุ๊กมีผลช่วยเขาในการได้งานทำและการทำงาน
จากผลการสำรวจและรายงานของบริษัท jobvite พบว่าคนอเมริกันกว่า 22 ล้านคนใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คเป็นเครื่องมือในการช่วยหางานทำ 86% ของคนที่หางานทำมีบัญชีโซเชียลเน็ตเวิร์คของตนเอง และประมาณ 15% ได้งานจากการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ค  ในขณะเดียวกันหลายบริษัทก็ใช้เฟซบุ๊กเพจในการหา
คนที่มีความสามารถเข้ามาทำงานให้บริษัท
http://www.readwriteweb.com/archives/study_more_than_15_of_workers_got_hired_through_social_networks.php

============================================================
2.กลุ่มไหนบ้างที่นำระบบโซเซียลเน็ทเวิร์คมาใช้มาก เช่น การค้า,การเมือง,สังคม,เศรษฐกิจฯลฯ ซึ่งแต่ละกลุ่มมีลักษณะการใช้งานโซเซียลเน็ทเวิร์คอย่างไร และผลกระทบต่อสังคมเป็นอย่างไร


 - ในประเทศไทยตอนนี้ที่เห็นได้ชัดคือกลุ่มการเมืองและสังคม  กลุ่มการเมืองไม่ว่าจะเป็นพรรคประชาธิปัตย์หรือพรรคเพื่อไทย ต่างก็ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คทั้งเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์




2.1 กลุ่มการเมือง
ในบรรดานักการเมือง จากสถิติที่แสดงที่  
zocialrank.com เฟซบุ๊กเพจของคุณอภิสิทธิ์มีคนเข้ามาคลิกชอบประมาณ 870,000 คน
มีคนเข้ามาคลิกชอบสิ่งที่คุณอภิสิทธิ์โพสต์ ประมาณ 2000-4000 คน

เฟซบุ๊กเพจของคุณยิ่งลักษณ์มีคนเข้ามาคลิกชอบประมาณ 540,000 คน
มีคนเข้ามาคลิกชอบสิ่งที่คุณยิ่งลักษณ์โพสต์ ประมาณ 2000-4000 คน

เฟซบุ๊กเพจของคุณกรณ์ จาติกวนิชมีคนเข้ามาคลิกชอบประมาณ 230,000 คน

ทวิตเตอร์ของคุณทักษิณ และคุณอภิสิทธิ์มีคนตาม 250,000 คน

ในประเทศไทย ผลกระทบของการใช้โซเชียลมีเดียในกลุ่มการเมืองยังไม่เห็นชัดเท่ากับในต่างประเทศ อาจจะเป็นเพราะส่วนใหญ่คนไทยที่ใช้โซเชียลมีเดียส่วนใหญ่กระจุกตัวเฉพาะในกรุงเทพและปริมณฑล  จากข้อมูลที่เว็บไซต์ของเฟซบุ๊กในวันที่ 18 ธันวาคม 2554 พบว่าผู้ที่ใช้เฟซบุ๊กในไทยอยู่ในกรุงเทพหรือเมืองที่อยู่ในช่วง 50 ไมล์ห่างจากกรุงเทพจำนวน  9,767,660 คน  คิดเป็น 73.57 เปอร์เซนต์ของคนไทยที่ใช้เฟซบุ๊กทั้งหมดซึ่งมีประมาณ 13,276,200 คน


แต่ในต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศอาหรับซึ่งเริ่มจากประเทศตูนิเซีย ซึ่งประชาชนสามารถใช้โซเชียลมีเดียเพื่อช่วยในการรวมตัวกันโค่นล้มผู้นำซึ่งอยู่ในอำนาจนาน 23 ปี   จากนั้นประชาชนในประเทศอาหรับประเทศอื่น เช่น อิยิปต์ แอลจีเรีย เยเมน บาห์เรน และจอนดอน ก็ลุกขึ้นมาประท้วงความไม่เป็นธรรมของผู้นำในการปกครองบริหารประเทศหลายปี ในประเทศเหล่านี้ ประชาชนเหล่านี้อาจมีความรู้สึกไม่พอใจรัฐบาลมานาน แต่ไม่มีช่องทางในการแสดงออกความรู้สึกไม่พอใจหรือในการรวมตัวกัน เห็นอกเห็นใจกัน และช่วยกันแสดงพลัง  โซเชียลเน็ตเวิร์คผ่านเฟซบุ๊กหรือทวิตเตอร์เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ทำให้การประท้วงต่อต้านผู้นำที่เป็นเผด็จการของประเทศเหล่านี้ได้สำเร็จ


2.2 กลุ่มสังคม

กลุ่มสังคมในไทยโดยเฉพาะกลุ่มพลังสังคมในเชิงบวกได้พยายามใช้โซเชียลมีเดียในการปลุกกลุ่มคนไทยให้มีจิตอาสามากขึ้นหรือในการรวมตัวกันในการทำงานเพื่อสังคมของคนที่มีจิตอาสา อาทิเช่น  

https://www.facebook.com/SiamArsa  กลุ่มอาสาสมัครฟื้นฟูประเทศไทย ซึ่งมีเฟซบุ๊กเพจที่คนคลิก like ประมาณ 110,000 คนและมีคนติดตาม 33,000 คนทางทวิตเตอร์  

https://www.facebook.com/PositiveNetwork  กลุ่มเครือข่ายพลังบวก  ซึ่งมีเฟซบุ๊กเพจที่คนคลิก like ประมาณ  23,000 คนและมีคนติดตาม ผ่านทวิตเตอร์

หรือล่าสุดจากเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าโซเชียลมีเดียมีส่วนอย่างมากในการทำให้พลังประชาชนมีส่วนในการเข้าไปช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนคนอื่น นอกจากมีการรวมตัวอาสาสมัครผ่านกลุ่มสยามอาสา ก็มีการสร้างกลุ่ม thaiflood 
https://www.facebook.com/thaiflood  ทั้งบนเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ที่ให้ทั้งความรู้ สิ่งของ และความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัย


2.3 การค้าและเศรษฐกิจ

บุคคลที่เป็นตัวอย่างในการใช้โซเชียลมีเดียเพื่อการค้าและเศรษฐกิจได้ดีคือคุณตัน ภาสกรนท ซึ่งเป็นคนที่มีเฟซบุ๊กเพจที่มีจำนวนคนคลิก like มากที่สุดในประเทศไทย มากยิ่งกว่าเฟซบุ๊กเพจของดารา ศิลปิน หรือนักการเมือง  คนตันมีเฟซบุ๊กเพจที่มีคนคลิก like 1,082,053 คน ซึ่งคุณตันใช้เพจประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ของบริษัทคุณตัน  

ในบรรดาธุรกิจต่างๆ พบว่าธุรกิจอาหารมีการสร้างเฟซบุ๊กเพจและมีคนเข้าไปคลิก like และติดตามข่าวเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น  Oishi New Station ซึ่งมีคนคลิก like ประมาณ 500,000 คน รองลงมาคือ  LaysThailand, และ McDonald Thai ซึ่งมีคนคลิก like ประมาณ 200,000 คน

ธุรกิจอีกอย่างหนึ่งที่ประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวางทางโซเชียลมีเดีย คือ ธุรกิจทางด้านไอทีและเทเลคอม  เช่น BlackBerry Thailand มีคนคลิก like ประมาณ 400,000 คน DTAC มีคนคลิก like ประมาณ 300,000 คน และ AIS มีคนคลิก like ประมาณ 200,000 คน

2.4 กลุ่มธรรมะ
เฟซบุ๊กเพจของท่าน ว. วชิรเมธี 
https://www.facebook.com/v.vajiramedhi มีคนเข้ามาคลิกชอบประมาณ 700,000 คน
ทวิตเตอร์ของท่าน ว. วชิรเมธี 
http://twitter.com/#!/vajiramedhi มีคนตาม 440,000 คน  นอกจากนี้ มี พระท่านอื่นหรือหน่วยงานอื่นที่พยายามใช้โซเชียลมีเดียในการเผยแพร่ธรรมะ อาทิเช่น หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญhttps://www.facebook.com/buddhadasaarchives ซึ่งมีคนคลิ like ประมาณ 37,000 คน  พระไพศาลที่ใช้โซเชียลมีเดียเพื่อการเผยแพร่ธรรมะ https://www.facebook.com/visalo มีคนคลิก like ประมาณ 30,000 คน
พระอาจารย์มิตซูโอะ 
https://www.facebook.com/aj.mitsuo.gavesako มีคนคลิก like ประมาณ 20,000 คน

2.5 กลุ่มสุขภาพ

มีกลุ่มนมแม่ 
http://www.facebook.com/thaibreastfeeding ซึ่งมีคนคลิก like 6,000 คน กลุ่ม rainbow room เพื่อสนับสนุนและให้ความรู้พ่อแม่ที่มีลูกที่มีความต้องการพิเศษ เช่น ลูกที่เป็นออทิสติกhttps://www.facebook.com/specialrainbow ซึ่งมีคนคลิก like ประมาณ 1,600 คน  กลุ่มเฟซบุ๊กเพจ สสสhttps://www.facebook.com/thaihealth
 ซึ่งมีคนคลิกประมาณ 9,000 คน



2.6 กลุ่มการศึกษานอกระบบ

มีทวิตเตอร์ของคุณ andrew biggs ซึ่งมีคนตาม 160,000 คน   มีเฟซบุ๊กเพจของ English Breakfast ซึ่งมีคนคลิก like ประมาณ 15,000 คน

=======================================================

วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

Social Media คืออะไร

Social Media คืออะไร
           ผศ. ดร. กานดา รุณนะพงศา สายแก้ว อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ได้กล่าวเกี่ยวกับ Social Media ไว้ดังนี้
มีเดีย (“Media”) หมายถึง สื่อหรือเครื่องมือที่ใช้เพื่อการสื่อสาร
โซเชียล (“Social”) หมายถึง สังคม
ในบริบทของโซเชียลมีเดีย โซเชียลหมายถึงการแบ่งปันในสังคม  ซึ่งอาจจะเป็นการแบ่งปันเนื้อหา (ไฟล์, รสนิยม ความเห็น…) หรือปฏิสัมพันธ์ในสังคม (การรวมกับเป็นกลุ่ม…)

โซเชียลมีเดีย ในที่นี้หมายถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ทำให้ผู้ใช้แสดงความเป็นตัวตนของตนเองเพื่อที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับหรือแบ่งปันข้อมูลกับบุคคลอื่น
      โซเชียลมีเดียส่วนใหญ่จะเป็นเว็บแอปพลิเคชัน 2.0 ซึ่งจะมีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้และผู้รับข้อมูล
- ทีวีและหนังสือพิมพ์ที่เป็นกระดาษเป็นสื่อ แต่เป็นสื่อของการสื่อสารทางเดียว ผู้รับข้อมูลไม่สามารถตอบกลับผู้ให้ข้อมูลทันทีทันใดได้ แต่โซเชียลมีเดียจะเป็นสื่อที่มีการสื่อสาร 2 ทาง กล่าวคือผู้รับข้อมูลสามารถแสดงความคิดเห็นหรือตอบผู้ให้ข้อมูลได้
- การให้ข้อคิดเห็นในบันทึกในบล็อกหรือในวิดีโอ
การพูดคุยผ่านโปรแกรมสนทนาออนไลน์หรือเว็บบอร์ด
- การให้ข้อคิดเห็นและบันทึกว่าชอบสไลด์
เครื่องมือและการบริการที่เป็นโซเชียลมีเดีย
- ตีพิมพ์: บล็อก, วิกิพีเดีย, เว็บรวมที่ให้ทุกคนโพสต์ข่าว
- แบ่งปัน: วิดีโอ, รูปภาพ, ดนตรี, ลิงก์
- การอภิปราย: การเสวนา, โปรแกรมสนทนาออนไลน์
- เครือข่ายสังคม: เครือข่ายสังคมโดยทั่วไปและเครือข่ายสังคมเฉพาะด้าน
- การตีพิมพ์แบบไมโคร: ไมโครบล็อก
- เครื่องมือที่รวมข้อมูล จากหลายแหล่งโซเชียลมีเดียเข้าด้วยกัน (Social aggregation tools)
สรุปแนวทางการใช้E-learning กับ Social Media เพื่อพัฒนาการศึกษาโดย ครูกอบวิทย์  พิริยะวัฒน์